ให้นักศึกษาค้นคว้าและสังเคราะห์แนวคิดของตนเอง
1.การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
2.ขั้นตอนการจัดการความรู้ จะประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร
(2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
(3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน
(4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน
(5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้
(6) การจดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
3.แหล่งข้อมูล แหล่งข้อมูลแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.แหล่งปฐมภูมิ เป็นแหล่งข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้รู้ ข้อมูลที่เราต้องการจะรู้โดยตรง
2.แหล่งทุติยภูมิ เป็นแหล่งข้อมูลที่ผู้อื่นเก็บรวบรวมไว้ก่อนแล้ว เช่น ข้อมูลจากหน่วยงาน ต่าง ๆ ข้อมูลจากผลการวิจัย
ลักษณะของแหล่งข้อมูล เราสามารถรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ ได้จากสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ซึ่งมีอยู่มากมายด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 มีหลายชนิดด้วยกัน ในแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันเช่น วิทยุ เป็นแหล่งข้อมูลชนิดหนึ่ง สามารถให้ข้อมูลต่าง ๆ ด้วยการรับฟัง ทำให้ได้ข้อมูลที่เราสนในและต้องการ โทรทัศน์ เป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้กว่าวิทยุ เพราะโทรทัศน์ให้ข้อมูลแก่เราได้ 2 ทาง คือ
ภาพและเสียง ดังนั้นข้อมูลทางโทรทัศน์ย่อมเป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ดี คอมพิวเตอร์ นับเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด สามารถจับต้องและลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง เพื่อค้นหาข้อมูลตามความสนใจและต้องการ จัดเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ดีอีกชนิดหนึ่ง คุณสมบัติพิเศษของข้อมูลชนิดนี้ คือ ช่วยในการจำ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ให้ข้อมูลแก่เราด้วยภาพและตัวหนังสือข้อมูลนี้ต้องศึกษาหาข้อมูลด้วยการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์นั้น ๆ แต่ข้อมูลที่ได้อาจมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าข้อมูลประเภทอื่น ๆ สื่อสิ่งพิมพ์ดังกล่าว ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ หนังสืออ่านนอกเวลาฯลฯ การสอบถามหรือสัมภาษณ์จากผู้รู้ เป็นข้อมูลด้านการสื่อสารโดยตรง ข้อมูลที่ได้ตรงตามที่เราต้องการ เช่น เชิญ วิทยากรท้องถิ่นที่มีความชำนาญในเรื่องนั้น ๆ โดยเฉพาะ ข้อมูลที่ได้นำมาปฏิบัติได้ด้วยตนเอง และเป็นข้อเท็จจริงที่เชื่อถือได้ การบอกเล่าหรือเล่าสู่กันฟัง เป็นข้อมูลที่คล้ายกับการสอบถาม(ข้อ5) แต่ข้อมูลที่ได้เป็นการบอกเล่ามาอีกทอด
หนึ่ง จึงอาจทำให้ข้อมูลเปลี่ยนไป
4.เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึงการประสานแหล่งความรู้และข้อมูลข่าวสารการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติและการปฏิบัติงานอย่างสอดคล้อง เชื่อมโยงกันทั้งระหว่างงานที่รับผิดชอบ การจัดการศึกษาในและนอกระบบโรงเรียนและระหว่างหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับต่างๆ ตลอดจนระบบการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อสร้างแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดและกระจายความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามความต้องการของบุคคลและชุมชน
5.สารสนเทศ สารสนเทศ คือ สิ่งที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ การคาดการณ์ในอนาคต
ที่มา http://www.google.co.th/