♥♥✿ Little Angle ✿♥♥

ฟ้าหลังฝนย่อมงดงามเสมอ...

ใบงานที่ 11

ใบงานที่ 11
ความรู้สึกและความคิดเห็นเกี่ยวกับครูผู้สอน
ประทับใจและดีใจที่มีโอกาสได้เรียนรู้กับครูที่เป็นผู้ให้และเป็นผู้ที่เปี่ยมด้วยความหวังดีต่อนักศึกษาอย่างแท้จริง เช่นอาจาย์อภิชาติ วัชรพันธุ์ อาจารย์ตั้งใจแนะนำ ถ่ายทอดและให้ความรู้อย่างเต็มที่โดยไม่คิดจะปิดบังหรือหวงวิชาความรู้แต่อย่างใด แสดงให้เห็นถึงความปรารถนาอันแน่วแน่ที่จะให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจอย่างแท้จริงและสามารถนำไปใช้ได้อย่างจริงๆ ในการปฏิบัติงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน
ความตั้งใจ ความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ของอาจารย์มีมากเกินความตั้งใจของคนโดยทั่วไป จนบางครั้งอาจารย์คาดหวังสูงเกินไป และไม่ได้ดั่งความคาดหวังเนื่องจากนักศึกษามีความแตกต่างระหว่างบุคคลในหลายเรื่อง
อยากให้อาจารย์มุ่งมั่นและตั้งใจจริงอย่างนี้ตลอดไปค่ะ

ใบงานที่ 10



ใบงานที่ 10
อัตชีวประวัติของข้าพเจ้า
“สัมผัสและกระทำทุกอย่างด้วยหัวใจ” คือแนวปฏิบัติที่ข้าพเจ้าใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพราะข้าพเจ้าตระหนักเสมอว่าความจริงใจกับทุกบริบท ทุกการกระทำคือสิ่งสำคัญประการแรกที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จในการดำเนินชีวิตร่วมกับบุคคลรอบข้างในสังคม ข้าพเจ้า นางสาวจุติมา นาควรรณ หรือที่ใครๆ เรียกชื่อเล่นว่า “น้อย” บ้าง “เล็ก” บ้าง “จุด” บ้าง “นุ้ย” บ้าง ซึ่งข้าพเจ้าก็ยินดีกับทุกฉายาที่เขามอบให้ ข้าพเจ้าเป็นชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยกำเนิด สถานที่เกิด อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ บ้านเลขที่ 7หมู่ที่ 2ตำบลท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประวัติการศึกษา
- อนุบาลและประถมศึกษา โรงเรียนวัดท่ายาง อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช
- มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนทุ่งใหญ่วิทยาคม อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช
- มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช อ.เมือง จ.นครสรีธรรมราช
- ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.เมือง จ.ปัตตานี
- ระดับปริญญาโท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
- ปัจจุบันกำลังศึกษาต่อในระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

ประวัติการทำงาน
ปี พ.ศ. 2539 รับราชการตำแหน่ง อาจารย์ 1 ระดับ 3 โรงเรียนบ้านขอนหาด
ตำบลขอนหาด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปี พ.ศ. 2541 – ปัจจุบัน ตำแหน่งครู ชำนาญการ
โรงเรียนวัดท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ความก้าวหน้าในการทำงาน ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอนด้วยความตั้งใจจริง บนพื้นฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพครู หลายครั้งหลายคราที่มีอุปสรรคและปัญหาข้าพเจ้าไม่เคยย่อท้อและเลิกล้มความตั้งใจในการที่จะสรรสร้างเยาวชนของชาติให้มีคุณภาพ ให้สมกับความไว้วางใจในฐานะแม่พิมพ์ของชาติจากสังคม ข้าพเจ้าได้รับการยอมรับในผลการปฏิบัติงานจากผู้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานและได้รับความไว้วางใจให้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหารงานวิชาการของโรงเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 เป็นต้นมา ความมุ่งมั่นและทุ่มเทความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานข้าพเจ้าได้รับความไว้วางใจจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ให้เป็นวิทยากรร่วมกับสำนักงานเขตในเรื่องต่างๆ เช่น
-วิทยากรตามโครงการพัฒนาเครื่องมือวัดผลสัมฤทธิ์ระดับท้องถิ่น
-วิทยากรแกนนำเรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน
-วิทยากรการสร้างเครื่องมือนิเทศทางไกล
-วิทยากรโครงการระบบดี โรงเรียนมีคุณภาพ

และในปี พ.ศ. 2551 ข้าพเจ้าได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นผู้ร่วมวิจัยและวิทยากรแกนนำการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ปัจจุบันข้าพเจ้าก็ยังคงมุ่งมั่น ทุ่มเท และอุทิศกำลังกาย กำลังสติปัญญา เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนต่อไป ดังคติข้างต้น “สัมผัสและกระทำทุกอย่างด้วยหัวใจ”
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ใบงานที่ 9

ใบงานที่ 9
คุณลักษณะของผู้บริหารแบบมืออาชีพในยุคปัจจุบัน
1. มีภูมิรู้ คือ มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และวิธีการในเรื่องต่างๆ ได้แก่
1.1 มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และวิธีการบริหารงาน
1.2 มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และวิธีการในการประยุกต์ใช้สื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศอย่างเหมาะสมและเกิดผลดี
1.3 มีความรอบรู้ด้านวิชาการ หลักสูตร ปรัชญาการศึกษา หลักจิตวิทยาด้านต่างๆ ตลอดจนวิทยาการใหม่ๆ
1.4 มีทักษะในการครองตน ครองคน และครองงาน ตลอดจนการบริหารความขัดแย้ง
1.5 มีภาวะผู้นำ Leadership
1.6 เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ที่มีความสามารถบริหารจัดการในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง (Change management)

2. มีภูมิธรรม คือ การบริหารจัดการบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นการบริหารจัดการโดยอาศัยหลักต่างๆ ดังนี้
2.1 หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
2.2 หลักคุณธรรม (Morality)
2.3 หลักความโปร่งใส (Accountability)
2.4 หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
2.5 หลักความรับผิดชอบ (Responsibility )
2.6 หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)

3. ภูมิฐาน คือ เป็นผู้ที่มีพื้น และฐานหรือภูมิหลังแห่งการสะสมในการคิดในการสร้างรู้จักการมองที่กว้าง ลึก มองเห็นเหตุแห่งปัญหาซึ่งจะเกิดขึ้นโดยการสรุปจากประสบการณ์ที่สร้างสมมานั้น เป็นคนช่างสังเกตและมองผลของการเกิดนั้นจากเหตุ มีวิสัยทัศน์ ฯลฯ

4. มีบุคลิกภาพที่ดี ทั้งบุคลิกภาพทางกาย ทางอารมณ์และจิตวิทยา ทางสังคมและทางสติปัญญา กล่าวคือ
4.1 บุคลิกภาพทางกาย แบ่งเป็นองค์ประกอบย่อย 2 องค์ประกอบ ประการแรก คือ รูปลักษณ์ภายนอกของผู้บริหารซึ่งเป็นที่ปรากฏแก่สายตาผู้คน ความสะอาดของร่างกายเป็นความสำคัญอันดับแรก การแต่งกายเรียบร้อยเหมาะสมกับตำแหน่ง วัย และสถานการณ์ ประการที่สองคือ บุคลิกภาพภายใน ผู้บริหารต้องมีความสามารถในการพูดการโต้ตอบที่ดี มีความฉลาดแหลมคมในการสนทนา เป็นผู้นำกลุ่มได้ และต้องมีข้อมูลอย่างเพียงพอ เพื่อประกอบการตอบโต้อย่างแหลมคมได้
4.2 บุคลิกภาพทางอารมณ์และจิตวิทยา ผู้บริหารที่มีบุคลิกภาพดีต้องเป็นผู้มีความมั่นคงทางอารมณ์ ไม่หงุดหงิด ฉุนเฉียว บ่นว่าตลอดเวลา มีความกล้าหาญในการเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ อย่างไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย เคารพสิทธิ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักชมเชย พูดจาโน้มน้าวจูงใจคนให้ทำงานเพื่อความเจริญก้าวหน้าของหน่วยงาน สังคม หรือประเทศชาติได้
4.3 บุคลิกภาพทางสังคม ผู้บริหารควรเป็นผู้นำในการศึกษาหาความรู้ในพิธีการต่างๆ ตามบรรทัดฐาน (Norms) ของสังคม เพื่อจะได้ปฏิบัติตามมารยาทสากลได้อย่างถูกต้อง สามารถเป็นตัวอย่างให้คำแนะนำแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดทั้งคนรอบข้างได้
4.4 บุคลิกภาพทางสติปัญญา ผู้บริหารที่มีบุคลิกภาพดี ต้องมีความรู้ มีความสามารถ มีความรอบรู้ด้านต่างๆ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์พอที่จะเป็นผู้นำกลุ่ม สามารถคิดสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่สถานศึกษาได้ ซึ่งอาจสรุปได้ว่าสติปัญญาและความรอบรู้ในวิชาชีพของผู้บริหาร เป็นสิ่งสำคัญมากในการบริหาร
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ใบงานที่ 8

ใบงานที่ 8

1.ความหมายของคำว่าสถิติ (Statistics) อาจพิจารณาได้ 3 ความหมาย คือ
 สถิติ หมายถึง ตัวเลขที่ใช้บรรยายเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริง (facts) ของเรื่องต่างๆ ที่เราต้องการศึกษา เช่น สถิติจำนวนผู้ป่วย สถิติจำนวนคนเกิด สถิติจำนวนคนตาย เป็นต้น
 สถิติ หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วยหลักการและระเบียบวิธีทางสถิติ สถิติใน ความหมาย นี้มักเรียกว่า สถิติศาสตร์ (Statistics)
 สถิติ หมายถึง ค่าที่คำนวณขึ้นมาจากตัวอย่าง เพื่อแสดงถึงคุณลักษณะบางอย่างของข้อมูลชุดนั้น โดยทั่วไปจะนำค่าสถิติไปใช้ในการประมาณค่าพารามิเตอร์

2.ค่าเฉลี่ย หรือค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic mean) คือค่าเฉลี่ยของข้อมูลทั้งหมด ความหมาย
เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
ค่ามัธยฐาน (Median) คือค่าของข้อมูลที่จุดกึ่งกลางของการกระจายของข้อมูลโดย 50% ของข้อมูลมี ค่าสูงกว่าค่า มัธยฐาน และ 50% มีค่าต่ำกว่าค่ามัธยฐาน และมักใช้ในกรณีที่ การกระจายของข้อมูลมีลักษณะไม่เท่ากันทั้งสองข้าง (Asymmetry) หรือมีลักษณะเบ้ไปทางซ้ายหรือทางขวา
เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย

ค่าฐานนิยม (Mode) คือค่าของข้อมูลที่มีความถี่มากที่สุดในข้อมูลของชุดนั้นๆ ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งค่าหรือไม่มีเลยก็ได้ เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายของข้อมูลว่าจะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยมากน้อยเท่าใด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย

3. ประชากร (Population) หมายถึง กลุ่มสมาชิกทั้งหมดที่ต้องการศึกษา อาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ ใช้สัญลักษณ์ “N” แทนจำนวนประชากร
กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง กลุ่มสมาชิกที่ถูกเลือกมาจากประชากรด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพื่อเป็นตัวแทนในการศึกษาและเก็บข้อมูล ใช้สัญลักษณ์ “n” แทนสมาชิกของกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างต่างกัน เพราะกลุ่มตัวอย่างเป็นเพียงสมาชิกส่วนหนึ่งของประชากรที่ถูกคัดเลือกมาใช้ในการศึกษาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ตัวอย่าง เช่น เมื่อผู้วิจัยต้องการศึกษาความต้องการในการพัฒนาตนเองของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีจำนวนมาก ผู้วิจัยไม่สามารถศึกษาจากประชากรทั้งหมดได้จึ้งคัดเลือกผู้บริหารมาศึกษาเพียงบางส่วนโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น ตารางเลขสุ่ม หรืออื่นๆ ผลที่ได้จากการศึกษาจะอ้างอิงไปสู่ประชากรทั้งหมด
4. มาตรนามบัญญัติ (Nominal Scale)
-เป็นมาตรวัดที่หยาบที่สุด จัดข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆ แยกตามประเภทหรือชนิด
-สถิติ : ความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม หรือใช้สถิติแบบนอนพาราเมตริก
-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่ไม่มีขนาด ไม่มีความเท่ากันของช่วง และไม่มีศูนย์สมบูรณ์
มาตรเรียงลำดับ (Ordinal Scale)
-เป็นมาตรวัดที่ใช้กับข้อมูลที่สามารถจัดเรียงอันดับความสำคัญหรือสามารถเปรียบเทียบกันได้
-สถิติ : ฐานนิยม มัธยฐาน พิสัย เปอร์เซนต์ไทล์ และสถิติแบบนอนพาราเมตริก
-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีการจัดลำดับข้อมูลจากมากไปน้อย หรือจากน้อยไปมากได้ แต่ไม่ได้บอก
ถึงปริมาณแต่ละอันดับว่ามากน้อยเท่าใด ไม่มีความเท่ากันของช่วงคะแนน และไม่มีศูนย์สมบูรณ์
มาตรอันตรภาค (Interval Scale)
-เป็นมาตรวัดที่สามารถบอกได้ทั้งทิศทางและขนาดของ ความแตกต่างของข้อมูล มาตรวัดนี้ไม่มีศูนย์ที่แท้จริง (absolute zero)
-สถิติ : ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่สามารถบอกระยะห่างของตัวเลข 2 ตัว ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเท่าใด มีเกณฑ์อยู่กับสิ่งที่เรียกว่าศูนย์สมมติ
มาตรอัตราส่วน (Ratio Scale)
-เป็นมาตรวัดที่มีลักษณะสมบูรณ์ทุกอย่าง ดีกว่ามาตรวัดอันตรภาคตรงที่มาตรการวัดนี้มีศูนย์
ที่แท้จริง
-สถิติ : สถิติที่ใช้กับการวัดในระดับนี้ใช้ได้ทุกวิธีที่มีอยู่
-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีระดับการวัดเหมือนมาตราอันตรภาค และมีศูนย์สมบูรณ์ ข้อมูลที่
เป็นอัตราส่วนสามารถนำมาบวก ลบ คูณ หาร ได้ และสามารถใช้ได้กับสถิติทุกประเภท

5.ตัวแปร หมายถึง สิ่งที่เปลี่ยนค่าไปได้หลายค่า เป็นลักษณะคุณภาพ คุณสมบัติของบุคคล สิ่งของ หรือสิ่งที่สนใจจะนำมาศึกษาที่สามารถนับได้ วัดได้ หรือหมายถึง สิ่งที่แปรเปลี่ยนไปตามระยะเวลา แปรเปลี่ยนได้หลายค่า หรือมากกว่า 1 ลักษณะ เช่นเชื้อชาติ แปรค่าได้เป็น ไทย , จีน , ….

ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (independent variable) เป็นตัวแปรเหตุที่ทำให้ผลตามมา หรือทำให้สิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะ หรือ แปรสภาพไป ตัวแปรต้นจะมีลักษณะดังนี้
- เป็นตัวแปรเหตุ
- เป็นตัวแปรที่มาก่อน
- เป็นตัวแปรที่จัดกระทำในการทดลอง
- มีลักษณะเป็นตัวทำนาย
- เป็นตัวกระตุ้น
- มีความคงทน ถาวร

ตัวแปรตาม (dependent variable) เป็นตัวแปรที่มีผลมาจากตัวแปรต้น ซึ่งตัวแปรตามจะมีลักษณะ ดังนี้
- เป็นตัวแปรที่เป็นผล
- เกิดขึ้นภายหลัง
- เกิดขึ้นเองไม่สามารถจัดกระทำได้ในการทดลอง
- เป็นตัวถูกทำนาย
- เป็นตัวตอบสนอง
- เปลี่ยนแปลงได้ง่าย
6.สมมติฐาน คือ การคาดการณ์ผลการวิจัยไว้ล่วงหน้าโดยมีทฤษฎีหรือข้อค้นพบจากผลงานวิจัยที่ผ่านมามารองรับ เป็นคำตอบที่คาดการณ์ไว้ก่อนที่จะดำเนินการวิจัยจริง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- สมมติฐานการวิจัย เป็นข้อความที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้นมักจะเขียนในเชิงความเรียงธรรม
- สมมติฐานทางสถิติ เป็นการนำข้อความจากสมมติฐานการวิจัยมาเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ทางสถิติ

7. T-test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับถ้าตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้
F – test (หรือ ANOVA) เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป
T-test และ F – test เหมือนกันคือเป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย ต่างกันคือ F – test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยของข้อมูลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป


คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ใบงานที่ 7

1.การใส่ปฏิทิน มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
เปิด google พิมพ์คำว่า code ปฏิทิน กด enter เปิดเวปที่เกี่ยวข้อง เพื่อ copy code เมื่อทำการ copy เสร็จแล้วให้เปิดบล็อกของตนเอง แล้วเข้าไปที่รูปแบบ จากนั้นคลิ๊ก ในส่วนองค์ประกอบของหน้า เพิ่ม Gadget จากนั้น คลิ๊กในส่วนของ html /จาวาสคริป นำโค๊ดที่ได้วางไว้ในส่วนของเนื้อหา แล้วกด บันทึก (save) เพื่อยืนยัน
2.การใส่นาฬิกา มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
เปิด google พิมพ์คำว่า code นาฬิกา กด enter เปิดเวปที่เกี่ยวข้อง เพื่อ copy code เมื่อทำการ copy เสร็จแล้วให้เปิดบล็อกของตนเอง แล้วเข้าไปที่รูปแบบ จากนั้นคลิ๊ก ในส่วนองค์ประกอบของหน้า เพิ่ม Gadget จากนั้น คลิ๊กในส่วนของ html /จาวาสคริป นำโค๊ดที่ได้วางไว้ในส่วนของเนื้อหา แล้วกด บันทึก (save) เพื่อยืนยัน
3.การทำสไลด์ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ให้เข้าไปใน www.slide.com จากนั้น ทำการสมัครสมาชิกให้เรียบร้อย
จากนั้น เข้าสู่ระบบ โดยการใส่ username และ password ที่ได้สมัครไปข้างต้น หลังจากเข้าสู่ระบบเรียบร้อยให้ คลิ๊กตรง สร้างการแสดงภาพสไลด์ จากนั้นไปที browse เพื่อเพิ่มรูปภาพที่ต้องการ เมื่อทำการ upload รูปเสร็จ ก็ไปในส่วน ดัดแปลงแบบของคุณ ทำการเลือกรูปแบบ หลากหลาย ขนาด เอ๊ฟเฟกต่างๆ ตามใจชอบ เมื่อเลือกได้ตามที่ต้องการ ให้บันทึก เพื่อรับรหัส code จากนั้น copy code ที่ได้ไปวางไว้ในส่วนของบทความใหม่ หรือใน Gadget ก็ได้. เสร็จแล้ว คลิ๊ก บันทึก เพื่อยืนยัน
4. การปรับแต่งสีใน blog มีขั้นตอนดังนี้
เปิด blog ของตัวเอง เข้าไปในส่วนของ รูปแบบ จากนั้น คลิ๊ก แบบอักษรและสี สามารถเลือกปรับแต่งสี ในส่วนต่างๆของหน้า blog เมื่อเลือกเสร็จให้คลิ๊ก บันทึกการเปลี่ยนแปลง
เพื่อยืนยัน
5. การใส่เพลง มีขั้นตอนดังนี้
ให้เข้าไปใน http://happyvampires.gmember.com/home.php?1402
จากนั้น คลิ๊กเลือกเพลงที่ต้องการ copy embed เพื่อนำ code ที่ได้ไปวางไว้ในบล็อกตัวเอง โดยอาจจะวางในส่วนของบทความใหม่ ก้อได้

ใบงานครั้งที่ 6

ให้นักศึกษาเสนอวิธีการใช้ http://www.google.co.th/

www.google.co.th ใช้ประโยชน์ ดังนี้
1. Google ช่วยแปลเว็บไซต์ที่เราค้นหาได้ที่เป็นภาษาอื่น มิใช่ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ เช่น ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สเปน ฯลฯ ให้เป็นเว็บภาษาอังกฤษได้ ด้วยการคลิกที่ Language Tools (เครื่องมือเกี่ยวกับภาษา) ที่หน้าแรกของ Google เพื่อเปิดการทำงานของตัวแปลภาษา หรือให้แปลเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ทั้งหน้าได้ โดยใส่ชื่อ URL ที่ต้องการให้ Google แปลลงในกรอบ Translate the Website
2. ค้นหาโดยระบุคำสั่งพิเศษ โดยใช้การค้นหาแบบ Advanced Search (ค้นหาแบบละเอียด) เพื่อบอก ให้ Google จำกัดขอบเขตการค้นหาให้เหลือเฉพาะหน้าเว็บไซต์ที่ผ่านการตรวจสอบจาก Google ในช่วง 3 เดือน, 6 เดือน หรือ 12 เดือน ที่ผ่านมาเท่านั้น
3.สามารถค้นหาไฟล์ข้อมูลที่อยู่ในรูป doc, pdf, ps ฯลฯ ได้ด้วยการกำหนดรูปแบบเอกสารของผลการค้นหาแบบเฉพาะเจาะจง
4.ค้นด้วยคำที่มีความหมายเหมือนกัน โดยให้ใส่เครื่องหมาย Tilde (~) หน้าคำที่ต้องการค้นหา โดยไม่ต้องเว้นวรรค Google จะค้นหาคำ Synonym ของคำที่เราต้องการค้นหาให้ด้วย
5.ค้นหาเฉพาะกลุ่ม โดยใช้ Special Google Searches เพื่อช่วยประหยัดเวลาในการค้นหา
6.ใช้ Google ช่วยในการคำนวณ
7.ชอปปิ้งด้วย Google : Froogle
8.ตรวจสอบราคาหุ้นของบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นของอเมริกา
9.สามารถหาแผนที่ของสหรัฐอเมริกาได้โดยพิมพ์ ที่อยู่ ชื่อถนน พร้อมด้วยชื่อรัฐ
อ้างอิง http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=3872ac8a53e03acf

2. การค้นหาข้อมูลขั้นสูงมีวิธีการอย่างไร
1.Google จะใช้ and (และ) อยู่ในประโยคเสมอ เช่น ค้นหา harvest moon back to nature Google จะค้นหาแบบ harvest AND moon AND back... (พูดง่ายๆคือค้นหาแบบแยกคำ)

2. การใช้ OR (หรือ) คือการให้ Google หาข้อมูลมากขึ้นจาก คำA และ คำB (พูดง่ายๆ คือนำผลที่ได้ มารวมกันรวมกัน) วิธีใช้ พิมพ์ OR ด้วยตัวใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation london OR paris คือหาทั้งใน London และ Paris

3. Google จะละคำทั่วๆไป (เช่น the, to, of) และตัวอักษรเดี่ยว เพราะจะทำให้ค้นหาช้าลง แต่ถ้าคำพวกนั้นสามารถช่วยให้หาข้อมูลง่ายขึ้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย + ช่วยโดยนำไปอยู่หน้าคำนั้น (ต้องเว้นวรรคก่อนด้วย) เช่น back +to nature หรือ final fantasy +x

4. Google สามารถกันขอบเขตการค้นหาให้เล็กลงด้วยการใช้ Advanced Search หรือ การค้นหา แบบพิเศษ ใน Google ภาษาไทย

5. Google สามารถตัดคำพ้องรูปได้โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยโดยการนำไปอยู่คำที่จะตัด เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนตรีเราจะตัดที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออกโดยพิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีคำว่า music นอกจากนี้มันยังสามารถตัดอย่างอื่นได้อีก เช่น "front mission 3" -filetype:pdf หมายความว่า เรื่องเกี่ยวกับ front mission 3 แต่ไม่แสดงไฟล์ PDF

6. การค้นหาแบบทั้งวลี (คือการค้นหาทั้งกลุ่มคำ) ให้ใช้เครื่องหมาย " " เช่น "Breath of fire IV"

7. Google สามารถแปลเว็บภาษา Italian, French, Spanish, German, และ Portuguese เป็น ภาษาอังกฤษได้ (โดยคลิ้กที่คำว่า "Translate this page" ด้านข้างชื่อเว็บ)

8. Google สามารถหาไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่ HTML ได้ ประเภทไฟล์ที่รองรับคือ

Adobe Portable Document Format (นามสกุลของไฟล์ pdf)
Adobe PostScript (นามสกุลของไฟล์ ps)
Lotus 1-2-3 (นามสกุลของไฟล์ wk1, wk2, wk3, wk4, wk5, wki, wks, wku)
Lotus WordPro (นามสกุลของไฟล์ lwp)
MacWrite (นามสกุลของไฟล์ mw)
Microsoft Excel (นามสกุลของไฟล์ xls)
Microsoft PowerPoint (นามสกุลของไฟล์ ppt)
Microsoft Word (นามสกุลของไฟล์ doc)
Microsoft Works (นามสกุลของไฟล์ wks, wps, wdb)
Microsoft Write (นามสกุลของไฟล์ wri)
Rich Text Format (นามสกุลของไฟล์ rtf)
Text (นามสกุลของไฟล์ ans หรือ txt)

วิธีใช้ filetype:นามสกุลของไฟล์ เช่น "Chrono Cross" filetype:pdf หมายความว่าเอกสารของ Chrono Cross ที่เป็น PDF และมันยังมีความสามารถดูไฟล์เหล่านั้นในรูปแบบของ HTML ได้ (โดยคลิ้ก View as HTML หรือ รูปแบบ HTML ใน Google ไทย)

9. Google สามารถเก็บ Cached ของเว็บที่จะเข้าชมไว้ได้ (โดยคลิ้กที่ Cached หรือ ถูกเก็บไว้ ใน Google ภาษาไทย) ประโยชน์ของมันคือช่วยให้เราสามารถเข้าเว็บบางเว็บที่อาจโดนลบไปแล้ว โดยข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลก่อนถูกลบ (ใหม่สุดที่มันจะมีได้)

10.Google สามารถค้นหาหน้าที่คล้ายกัน (โดยคลิ้ก Similar pages หรือ หน้าที่คล้ายกัน ใน Google ภาษาไทย) โดยจะค้นหาข้อมูลที่คล้ายๆ กันให้เรา เช่น ถ้าเรากำลังหาข้อมูลการวิจัย ความสามารถนี้จะช่วยให้หาข้อมูลได้มากมายในเวลาที่รวดเร็วโดยไม่ต้องเป็นห่วงเรื่อง keyword

11.Google สามารถค้นหา link ทั้งหมดที่เชื่อมไปยังเว็บนั้นได้ วิธีใช้ link:ชื่อ URL เช่น link:www.google.com แต่คุณไม่สามารถใช้ความสามารถนี้ร่วมกับการหาแบบอื่นๆ ได้

12.Google สามารถค้นหาเว็บที่จำเพาะเจาะจงได้ โดยพิมพ์ คำที่คุณต้องการเจาะจง site:ชื่อ URL เช่น ถ้าคุณต้องการหาเว็บเกี่ยวกับการเข้า (admission) มหาวิทยาลัย Stanford ให้พิมพ์ admission site:www.stanford.edu

13.ถ้าคุณมีเวลาน้อย (และคิดว่าโชคดี) Google มีบริการการค้นหาด่วน (ชื่อบริการ I'm Feeling Lucky) โดยที่ Google จะนำเว็บที่อยู่ลำดับแรกของการค้นหา ส่งให้คุณเลย (link ไปเว็บนั้นให้เสร็จ) เช่น คุณต้องการค้นหาเว็บมหาวิทยาลัย Stanford อย่างด่วนให้พิมพ์ Stanford แล้วกด I'm Feeling Lucky หรือ ใช่เลย! เจอแน่ๆ ใน Google ไทย

14.Google สามารถหาแผนที่ของสหรัฐอเมริกาได้โดยพิมพ์ ที่อยู่ ชื่อถนน พร้อมด้วยชื่อรัฐ เช่น 165 University Ave Palo Alto CA Google จะจัดการส่งแผนที่คุณภาพสูงมาให้คุณ

15.Google สามารถหาเบอร์โทร (เฉพาะอเมริกา) หรือพิมพ์เบอร์โทรแล้วหาบริษัทได้โดยพิมพ์
first name (or first initial), last name, city (state is optional)
first name (or first initial), last name, state
first name (or first initial), last name, area code
first name (or first initial), last name, zip code
phone number, including area code
last name, city, state
last name, zip code
แล้วแต่ว่าคุณจะใช้แบบไหน

16.Google สามารถค้นหา Catalog สินค้าได้ (เข้าไปที่ http://catalogs.google.com )

17.Google สามารถเก็บข้อมูลลักษณะการใช้ที่คุณต้องการได้โดยเข้าไปที่ Preferences หรือ ตัวเลือก ใน Google ไทย
อ้างอิง http://www.thaiseoboard.com/index.php?topic=91026.0

3. web ที่ใช้ค้นหาข้อมูลนอกจาก google
ตัวอย่างเว็บไซต์เครื่องค้นหาได้แก่ http://www.yahoo.com, http://www.infoseek.com, http://altavista.com, http://thaiseek.com
อ้างอิง http://www.sa.ac.th/elearning/index33.htm

4. การกำหนดหมวดหมู่ในการค้นหา โดยใช้ google
ค้นหารูปได้แสนง่าย
ความสามารถที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ชอบกันนักหนา และสร้างชื่อให้กับ Google ก็คือการค้นหารูปภาพด้วย Google Search ครับ วิธีการใช้ก็คือ
1. คลิกเมนูลิ้งค รูปภาพ จากนั้นก็พิมพ์ชื่อภาพที่ต้องการค้นหา และคลิกปุ่มค้นหารูปภาพ
- Google ค้นหาไฟล์ได้
Google สามารถค้นหาไฟล์เอกสารที่สำคัญๆ ได้ดังนี้
Adobe Portable Document Format ( ไฟล์นามสกุล . pdf)
Adobe PostScript ( ไฟล์นามสกุล . ps)
Lotus 1-2-3 ( ไฟล์นามสกุล . wk1, .wk2, .wk3, .wk4, .wk5, .wki, .wks และ . wku)
Lotus WordPro ( ไฟล์นามสกุล . lwp)
MacWrite ( ไฟล์นามสกุล . mw)
Microsoft Excel ( ไฟล์นามสกุล . xls)
Microsoft PowerPoint ( ไฟล์นามสกุล . ppt)
Microsoft Word ( ไฟล์นามสกุล . doc)
Microsoft Works ( ไฟล์นามสกุล . wks, .wps, .wdb)
Microsoft Write ( ไฟล์นามสกุล . wri)
Rich Text Format ( ไฟล์นามสกุล . rtf)
Shockwave Flash ( ไฟล์นามสกุล . swf)
Text ( ไฟล์นามสกุล . ans, .txt)
- เว็บไซต์ที่ถูกลบไปแล้ว Google ก็ยังค้นหาได้อยู่
เพราะก่อนหน้านี้เว็บไซต์ที่ถูกลบเหล่านั้นได้ถูกบรรจุหรือจัดเก็บไว้ในเครื่องที่เรียกว่า Cache ของ Google ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นเองครับ เช่น บางลิงค์ที่ผู้ใช้งานคลิกเข้าชมไม่ได้อันเนื่องมาจากถูกลบออกไปแล้ว ผู้งานก็เพียงแต่คลิกที่เมนู หน้าที่ถูกเก็บไว้ ครับ
- ค้นหาหน้าเว็บที่มีข้อมูลคล้ายกันได้
ในบางครั้งเมื่อ Cache จะไม่สามารถช่วยผู้ใช้ค้นหาเว็บไซต์นั้นได้ แต่ผู้ใช้งานสามารถค้นหาเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาคล้ายกัน โดคลิกไปยังเมนู หน้าที่คล้ายกัน ครับ
- Google สามารถค้นหาเว็บทั้งหมดที่เชื่อมมายังเว็บนั้นได้
โดยพิมพ์ link: ชื่อ URL ของเว็บ ในช่อง Search ของ Google เช่น link:www.plawan.com เป็นการค้นหาลิงค์ที่เชื่อมมายังเว็บของปลาวาฬดอตคอมเป็นต้น
- Google สามารถหาคำเฉพาะเจาะจงในเว็บไซต์นั้นๆ ได้
โดยพิมพ์ คำที่ค้นหา site: ชื่อ URL ของเว็บ ในช่อง Search ของ Google เช่น Google Earth site:www.kapook.com ซึ่งเป็นการหาหน้าเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับ Google Earth ในเว็บไซต์ของ Kapook นั่งเองครับ
- ค้นหาแบบวัดดวงกันบ้าง
จะวัดดวงค้นหาเว็บไซต์ด้วย Google กันสักครั้งคงไม่เป็นไร เพราะถ้าดวงดีผู้ใช้ก็จะได้ไม่เสียเวลามานั่นเลือกให้เมื่อตุ้มครับ โดยพิมพ์ Keyword สำหรับค้นหาเว็บไซต์ที่ต้องการจากนั้นคลิกที่ปุ่ม ดีใจจัง ค้นหาแล้วเจอเลย
- ค้นหาบทสรุปของหนังสือก่อนตัดสินใจซื้อ
ก่อนการตัดสินใจที่จะซื้อหนังสือสักเล่ม ผู้ใช้น่าจะทราบก่อนว่าเนื้อหามีอะไรบ้าง หรือมีโอกาสได้ดูสารบัญของหนั้งสือเล่มนั้นเสียก่อนครับ Google Search สามารถบอกผู้ใช้ได้เพียงใส่ชื่อหนังสือหลังคำว่า books about ชื่อหนังสือ เช่น books about Harry Potter
อ้างอิง http://www.kapook.com/google/search/

ใบงานครั้งที่ 4

ให้นักศึกษาค้นคว้าและสังเคราะห์แนวคิดของตนเอง

1.การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

2.ขั้นตอนการจัดการความรู้ จะประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร
(2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
(3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน
(4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน
(5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้
(6) การจดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น

3.แหล่งข้อมูล แหล่งข้อมูลแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.แหล่งปฐมภูมิ เป็นแหล่งข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้รู้ ข้อมูลที่เราต้องการจะรู้โดยตรง
2.แหล่งทุติยภูมิ เป็นแหล่งข้อมูลที่ผู้อื่นเก็บรวบรวมไว้ก่อนแล้ว เช่น ข้อมูลจากหน่วยงาน ต่าง ๆ ข้อมูลจากผลการวิจัย
ลักษณะของแหล่งข้อมูล เราสามารถรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ ได้จากสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา ซึ่งมีอยู่มากมายด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 มีหลายชนิดด้วยกัน ในแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันเช่น วิทยุ เป็นแหล่งข้อมูลชนิดหนึ่ง สามารถให้ข้อมูลต่าง ๆ ด้วยการรับฟัง ทำให้ได้ข้อมูลที่เราสนในและต้องการ โทรทัศน์ เป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้กว่าวิทยุ เพราะโทรทัศน์ให้ข้อมูลแก่เราได้ 2 ทาง คือ
ภาพและเสียง ดังนั้นข้อมูลทางโทรทัศน์ย่อมเป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ดี คอมพิวเตอร์ นับเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด สามารถจับต้องและลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง เพื่อค้นหาข้อมูลตามความสนใจและต้องการ จัดเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ดีอีกชนิดหนึ่ง คุณสมบัติพิเศษของข้อมูลชนิดนี้ คือ ช่วยในการจำ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ให้ข้อมูลแก่เราด้วยภาพและตัวหนังสือข้อมูลนี้ต้องศึกษาหาข้อมูลด้วยการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์นั้น ๆ แต่ข้อมูลที่ได้อาจมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าข้อมูลประเภทอื่น ๆ สื่อสิ่งพิมพ์ดังกล่าว ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ หนังสืออ่านนอกเวลาฯลฯ การสอบถามหรือสัมภาษณ์จากผู้รู้ เป็นข้อมูลด้านการสื่อสารโดยตรง ข้อมูลที่ได้ตรงตามที่เราต้องการ เช่น เชิญ วิทยากรท้องถิ่นที่มีความชำนาญในเรื่องนั้น ๆ โดยเฉพาะ ข้อมูลที่ได้นำมาปฏิบัติได้ด้วยตนเอง และเป็นข้อเท็จจริงที่เชื่อถือได้ การบอกเล่าหรือเล่าสู่กันฟัง เป็นข้อมูลที่คล้ายกับการสอบถาม(ข้อ5) แต่ข้อมูลที่ได้เป็นการบอกเล่ามาอีกทอด
หนึ่ง จึงอาจทำให้ข้อมูลเปลี่ยนไป

4.เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึงการประสานแหล่งความรู้และข้อมูลข่าวสารการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติและการปฏิบัติงานอย่างสอดคล้อง เชื่อมโยงกันทั้งระหว่างงานที่รับผิดชอบ การจัดการศึกษาในและนอกระบบโรงเรียนและระหว่างหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับต่างๆ ตลอดจนระบบการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อสร้างแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดและกระจายความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามความต้องการของบุคคลและชุมชน

5.สารสนเทศ สารสนเทศ คือ สิ่งที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ การคาดการณ์ในอนาคต

ที่มา http://www.google.co.th/

ใบงานครั้งที่ 2 งานชิ้นที่ 1

ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนวัดท่ายาง
สถานที่ตั้ง หมู่ 2 ตำบลท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษาเป็นการนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้ 4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
การนำนวัตกรรมไปใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ตัวอย่าง นวัตกรรมที่ใช้ในการสอน ได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์ และยังเป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์ ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับสารสนเทศภายนอกหน่วยงาน เช่น ระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการอบรม เก็บรักษาและออกแบบระบบการสืบค้นที่ดีพอซึ่งผู้บริหารสามารถสืบค้นข้อมูลมาใช้งานได้ทันทีตลอดเวลา การใช้ออกแบบระบบการสืบค้นที่ดีพอซึ่งผู้บริหารสามารถสืบค้นข้อมูลมาใช้งานได้ทันทีตลอดเวลา การใช้นวัตกรรมแต่ละด้านอาจมีการผสมผสานที่ซ้อนทับกันในบางเรื่อง ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กันหลายด้าน การพัฒนาฐานข้อมูลอาจต้องทำเป็นกลุ่มเพื่อให้สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้อย่างประสิทธิภาพคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นเครื่องมือช่วยครูในการเรียนการสอน โดยบรรจุเนื้อหาที่จะสอนไว้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง และมีเทคนิคการสอนที่อยู่บนพื้นฐานของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเครื่องคอมพิวเตอร์

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการระบบสารสนเทศของสถานศึกษา

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานที่กำหนด มีความจำเป็นต้องใช้สารสนเทศที่ครบถ้วนสมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน เพื่อใช้ในการวางแผนยุทธศาสตร์และการบริหาร เพื่อการวางแผนปฏิบัติการ เพื่อการดำเนินงาน เพื่อการตรวจสอบติดตามระหว่างดำเนินการ และเพื่อการประเมินผล หลังการดำเนินงาน ระบบสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับสถานศึกษามี 4 ระบบ ดังนี้
(1) ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา ประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับศักยภาพของสถานศึกษา สภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ความต้องการของชุมชน สภาพการบริหารและแนวทางการจัดการศึกษาตามโครงสร้างและภารกิจ เช่น ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา ศักยภาพของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน แนวโน้มการพัฒนาท้องถิ่น แนวทางการจัดการศึกษา การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา
(2) ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน ประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียนทั้งหมด เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ผลงานและการแสดงออกของผู้เรียน รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน
(3) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอน การวัดผลและการประเมินผลการเรียน การพัฒนากิจกรรมแนะแนว การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การวิจัยในชั้นเรียน
(4) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับสภาพการบริหารและการจัดการ สภาพและบรรยากาศการเรียนรู้ ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก การพัฒนาวิชาชีพ สุขภาพอนามัย การจัดการแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาวิชาชีพ ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชน

การนำระบบสารสนเทศไปใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า สารสนเทศได้กลายเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนา ประเทศสำหรับในระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกัน โดยหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและ แลกเปลี่ยนข้อมูล และสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และ การจัดการศึกษาให้เป็นระบบที่มีรูปแบบและมีมาตรฐานเดียวกันรวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา
การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาส่วนใหญ่เป็นไปอย่างอิสระ ทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งทางด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ ต่อเชื่อมระบบซอฟต์แวร์ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลปฐมภูมิ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงาน เครือข่าย ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษา ดังนั้น โรงเรียนหรือหน่วยงานทางการศึกษา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาและนำข้อมูลสารสนเทศเหล่านนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์

วิสัยทัศน์
ประยุกต์ใช้นวัตกรรมอย่างฉลาด เปรื่องปราดเทคโนโลยี มีสารสนเทศเชิงระบบอย่างครบวงจร

ยุทธศาสตร์
ประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ การบริหารจัดการและพัฒนาระบบสารสนเทศของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

บริบทของสถานศึกษา
1. ข้อมูลทั่วไป
1.1 ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนวัดท่ายาง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่
จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ 80240 โทรศัพท์ 075 489217 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
1.2 เปิดสอนตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

2. ประวัติโดยย่อ
โรงเรียนวัดท่ายาง เดิมมีชื่อว่า “ โรงเรียนประชาบาลตำบลท่ายาง ” เป็นโรงเรียนประชาบาลแห่งแรกของตำบลท่ายาง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2453 เดิมอาศัยโรงธรรมศาลาวัดท่ายางเป็นสถานที่เรียน เป็นระยะเวลานานถึง 45 ปี
จนถึงปี พ.ศ. 2499 ทางราชการได้อนุมัติเงิน ก.ส.ช. จำนวน 15,000 บาท ให้จัดสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ก จำนวน 3 ห้องเรียนในที่ดินโรงเรียนปัจจุบัน ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลท่ายาง สังกัดเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดการศึกษา 3 ระดับ ตามนโยบายการจัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปีของรัฐบาล คือระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ปัจจุบันโรงเรียนวัดท่ายางมีบุคลากรที่ปฏิบัติงานจริงในโรงเรียน จำนวน 50 คน เป็นผู้บริหาร 3 คน ครูประจำการ 38 คน พนักงานราชการ 5 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน ลูกจ้างชั่วคราว (เจ้าหน้าที่บรรณารักษ์และครูผู้สอนคอมพิวเตอร์ ) 2 คน ครู/พี่เลี้ยง 1 คน และครูไปช่วยราชการ 1 คน
นอกจากนี้โรงเรียนวัดท่ายางเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ปี พ.ศ. 2544 เป็นโรงเรียนแกนนำการทำวิจัยในชั้นเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 เป็นที่ตั้งของศูนย์เครือข่ายการศึกษา 10 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 เป็นโรงเรียนพัฒนาศูนย์เด็กเล็กปฐมวัยต้นแบบประจำอำเภอ ปี พ.ศ. 2548 ในปี พ.ศ. 2550 เป็นโรงเรียนโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ ในปี พ.ศ. 2551 ได้รับการรับรองให้เป็นต้นแบบโรงเรียนดีใกล้บ้าน (1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน รุ่นที่ 2) และได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป

คำขวัญ
“จริยธรรมเบ่งบาน วิชาการก้าวหน้า บุคลากรพัฒนา ปวงประชาร่วมใจ”

นโยบายของโรงเรียนวัดท่ายาง

1. จัดการศึกษาให้เด็กก่อนวัยเรียนทุกคนในเขตบริการของโรงเรียน ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีพัฒนาการด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมเหมาะสมกับวัย มีความพร้อมในการเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาต่อไป
2. จัดการศึกษาแก่เด็กที่มีอายุในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ ได้เข้าเรียนจนจบตามหลักสูตรทุกคน พร้อมทั้งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่งและสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
3. จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรม มีทักษะวิชาสามัญ วิชาชีพ มีความสามารถในการจัดการและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ตลอดจนส่งเสริมให้นักเรียนที่จบระดับมัธยมศึกษาตอนต้นทุกคนได้เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น
4. พัฒนาระบบการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนตามหลักสูตร โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข นำภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา รวมทั้งจัดการศึกษาให้สนองและสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
5. นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษาอย่างกว้างขวาง
6. บริหารจัดการเชิงระบบและมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามแนวทางการกระจายอำนาจทางการศึกษา เพื่อนำโรงเรียนสู่มาตรฐานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา


สภาพปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา
สภาพปัญหาและสิ่งที่ต้องการพัฒนาด้านนวัตกรรมทางการศึกษา
สภาพปัญหา
1. ปัญหาด้านบุคลากร คือบุคลากรบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจและความชำนาญในการผลิตและใช้สื่อนวัตกรรมทางการศึกษาประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
แนวทางแก้ไข คือ สร้างความตระหนักให้บุคลากรเห็นถึงความสำคัญของการผลิตและการใช้สื่อ นวัตกรรมประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญทั้งในฐานะที่เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย คือพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และในฐานะที่สื่อ นวัตกรรมเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืนและถาวร
2. ปัญหาด้านการขาดแคลนห้องเรียนและห้องพิเศษสำหรับการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เนื่องจากจำนวนนักเรียนมีมากและเพิ่มมากขึ้นทุกปี จึงส่งผลให้ขาดแคลนห้องเรียนและห้องพิเศษดังกล่าว แนวทางการแก้ไข คือ สถานศึกษาร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันวางแผนเพื่อจัดการบริหารด้านอาคารสถานที่ให้สามารถเอื้อและอำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ
สิ่งที่ต้องการพัฒนา
1. การเพิ่มศักยภาพในการผลิต การใช้สื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาที่ทันสมัยและมีคุณภาพให้แก่บุคลากรในโรงเรียน
2. การจัดหา สร้างห้องปฏิบัติการทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีคุณภาพและเพียงพอ

สภาพปัญหาและสิ่งที่ต้องการพัฒนาด้านสารสนเทศทางการศึกษา
สภาพปัญหา
1. ขาดแคลนสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่ทันสมัยในการรวบรวม ประมวลผลและจัดเก็บสารเทศของโรงเรียนอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ
2. บุคลากรขาดความชำนาญในการรวบรวม ประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ
สิ่งที่ต้องการพัฒนา
1. การสรรหาสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่ทันสมัยในการรวบรวม ประมวลผลและจัดเก็บสารเทศของโรงเรียนอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ ที่เพียงพอ
2. สร้างความตระหนัก พัฒนาบุคลากรอย่างหลากหลายแนวทางเพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถ มีความชำนาญในการรวบรวม ประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ

ผู้ให้ข้อมูล นางสาวจุติมา นาควรรณ
หน่วยงาน โรงเรียนวัดท่ายาง สพท.นศ.2
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2552

ใบงานครั้งที่ 1

ให้นักศึกษาสรุปความหมายและความสำคัญพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาการจัดนวัตกรรมและสารสนเทศในสถานศึกษา
1.“การจัดการ” (Management) จะเน้นการปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบาย (แผนที่วางไว้) ซึ่งนิยมใช้ในการจัดการธุรกิจ (Business management) ส่วนคำว่า “ผู้จัดการ” (Manager) จะหมายถึงบุคคลในองค์กรซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบต่อกิจกรรมในการบริหารทรัพยากรและกิจการงานอื่นๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ขององค์กร เช่นการบริหารจัดการงานฝ่ายต่างๆ การบริหารจัดการแผนงาน/โครงการในสถานศึกษา ฯลฯ

การบริหาร คือกลุ่มของกิจกรรม ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การสั่งการ (Leading/Directing) หรือการอำนวย และการควบคุม (Controlling) ซึ่งจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับทรัพยากรขององค์กร (6 M’s) เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และด้วยจุดมุ่งหมายสำคัญในการบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลครบถ้วน

2.“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม เช่นวิธีการสอนใหม่ๆ สื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ การใช้เทคโนโลยี สื่อ IT เพื่อการเรียนการสอน ฯลฯ

3.เทคโนโลยีการศึกษามีความหมายโดยตรงตามความหมายของเทคโนโลยี คือ ศาสตร์แห่งวิธีการ หรือการประยุกต์วิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษา โดยคำว่า”วิทยาศาสตร์”ในที่นี้มุ่งเน้นที่วิชาพฤติกรรมศาสตร์ เพราะถือว่าพฤติกรรมศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งเช่นเดียวกับวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เป็นต้น

4.ข้อมูล (Data) หมายถึงข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้ที่ใช้แทนด้วยตัวเลข ภาษาหรือสัญลักษณ์ที่ยังไม่ได้ปรุงแต่งหรือประมวลผลใดๆ อาจแบ่งข้อมูลได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ข้อเท็จจริงที่เป็นปริมาณ ระยะทาง
2. ข้อเท็จจริงที่ไม่เป็นตัวเลข เช่น ชื่อ ที่อยู่ สถานภาพ ประวัติการศึกษา และอื่น
3. ข่าวสารที่ยังไม่ได้ประเมิน เช่น รายงาน บันทึก กฎหมาย

5.สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์หรือมีความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การเก็บข้อมูลการขายรายวัน แล้วทำการประมวลผลเพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป

6.ระบบสารสนเทศ (Information System ) คือขบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นข้อสรุปใช้สนับสนุนการบริหาร และการตัดสินใจ ทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับสูง ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่จัดตั้งขึ้น เพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูล ดังต่อไปนี้
1. รวบรวมข้อมูลทั้งภายใน ภายนอก ซึ่งจำเป็นต่อหน่วยงาน
2. จัดกระทำเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมจะใช้ประโยชน์ได้
3. จัดให้มีระบบเก็บเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกต่อการค้นหาและนำไปใช้
4. มีการปรับปรุงข้อมูลเสมอเพื่อให้อยู่ในสภาพที่ถูกต้องทันสมัยตลอดเวลา ขบวนการที่ทำให้เกิดข่าวสารสนเทศนี้เรียกว่า “การประมวลผลสารสนเทศ” และเรียกวิธีการประมวลผลสารสนเทศด้วยเครื่องมืออิเลคทรอนิกส์ว่า “ เทคโนโลยีสารสนเทศ”( Information Technology :IT)

7.ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึงคือขบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการศึกษา เพื่อเป็นข้อสรุปใช้สนับสนุนการบริหาร และการตัดสินใจ ทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับสูงในการจัดการศึกษา

8.การสื่อสาร หมายถึง การถ่ายทอดข่าวสาร ความคิด อารมณ์ ทักษะ ฯลฯ ด้วยการใช้สัญญลักษณ์ เช่นคำพูด รูปภาพ ตัวเลข กราฟ ฯลฯ การกระทำหรือกระบวนการในการถ่ายทอด

9.เครือข่าย (Network) หมายถึง 1.การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน สายเคเบิล (ทางตรง)และหรือสายโทรศัพท์ (ทางอ้อม) 2.มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 3.มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้

10.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์

11.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา หมายถึง “ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” หมายถึง เทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง, แปลง, จัดเก็บ, ประมวลผล, และค้นคืนสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา

ที่มา http://www.google.co.th/

สรุปความรู้ สัปดาห์ที่ 4 (28 พฤศจิกายน 2552)

อินเตอร์เน็ท : การสืบค้นข้อมูลอย่างหลากหลาย

อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ จนได้รับสมญานามว่า “ห้องสมุดโลก” ซึ่งมีข้อมูลหลากหลายประเภทและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นในการที่เราจะค้นหา ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับแหล่งข้อมูลนี้ นั่นคือ มักประสบปัญหาไม่ทราบว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นอยู่ในเว็บไซต์ใด ดังนั้นจึงได้มีเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า เครื่องมือช่วยค้น ในการสืบค้นข้อมูลนั้นถ้าหากเราทราบแหล่งข้อมูลหรือเว็บไซต์ เราก็สามารถพิมพ์หรือระบุ URL ในช่อง Address ได้เลย แต่ถ้าหากเราไม่ทราบว่าแหล่งข้อมูลนั้นอยู่ที่ใด เราสามารถใช้เว็บไซต์ที่เป็น Search Engine ช่วยในการค้นหาได้อย่างรวดเร็ว

WWW (World Wide Web) คืออะไร
- มีชื่อเรียกหลายแบบ ได้แก่ WWW, W3 หรือ Web
- เป็นระบบสืบค้นข้อมูลข่าวสารในอินเทอร์เน็ต ที่นิยมมากและแพร่หลายที่สุด
- ข้อมูลจะถูกเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ที่มีอยู่มากมาย ผู้ต้องการใช้สามารถเข้าไปสืบค้นดูเองโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
- ข้อมูลในเวิลด์ไวด์เว็บ จะอยู่ในแบบมัลติมีเดีย ที่มีทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวแบบวิดีโอ
โปรแกรม Internet Explorer-Internet Explorer เป็น Web browser ของบริษัท Microsoft พัฒนามาจาก NCSA Mosaic เช่นเดียวกับ
Netscape Navigator
- มีประสิทธิภาพสูง ใช้ง่าย มีฟังก์ชันการทำงานครบ คล้ายกับโปรแกรม Netscape Navigator
- เป็นโปรแกรมที่จัดให้มาพร้อมกับโปรแกรม Windows
- เป็น Web browser ที่ได้รับความนิยมสูงสุด
การเปิด Web site ที่ต้องการ
- การไปยังเว็บที่ต้องการ ทำได้หลายวิธี
- คลิกที่ช่อง Address พิมพ์ URL address ของเว็บไซต์ที่ต้องการติดต่อ แล้วกด Enter
- IE จัดเก็บ address ที่เคยติดต่อหลังสุด 15 แห่งไว้ เราสามารถเรียกมาใช้ใหม่ได้จากการคลิกปุ่มสามเหลี่ยมทางขวาของช่อง
Address
- จากเมนู File เลือกคำสั่ง Open พิมพ์ URL address ของเว็บไซต์ที่ต้องการติดต่อ แล้วกด Enter หรือ คลิกปุ่ม Open
Search Engine
- Search Engine เป็นโปรแกรมช่วยค้นข้อมูลบน WWWโดยผู้ใช้กรอกคำ วลี หรือประโยคที่เราต้องการค้น (Keyword)
- มีผู้จัดสร้างเว็บไซต์ขึ้นมา เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ ช่วยค้นสิ่งที่ต้องการได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว
- ใน search engine จะมีโปรแกรมที่เรียกว่า crawlers หรือ robots หรือ spider ทำหน้าที่รวบรวม URL ของ
เว็บเพจบน อินเทอร์เน็ต มาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของตน เมื่อพบเว็บเพจใหม่ ที่ยังไม่มีโดยอัตโนมัติ
- ควรใช้ search engine หลายโปรแกรมร่วมกัน เนื่องจากแต่ละโปรแกรมมีวิธีสืบค้นข้อมูลต่างกัน
การสืบค้นข้อมูลในเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ
- ข้อมูลที่สามารถสืบค้นได้อาจเป็น แฟ้มรูปภาพ แฟ้มภาพเคลื่อนไหว แฟ้มข้อมูลเสียง แฟ้มข้อมูลเอกสารประเภทต่างๆ ได้แก่
เอกสาร HTML เอกสาร Word เอกสาร pdf หรือ แฟ้มข้อมูลประเภทอื่นๆ
- เมื่อผู้ใช้ต้องการค้นข้อมูลเรื่องใด ก็เพียงแต่สร้างการเชื่อมต่อไปยังเว็บของผู้ให้บริการสืบค้นข้อมูล (Search Engine) และ
พิมพ์คําสําคัญ (Keyword) ที่ต้องการใช้ในการค้นหา
- โปรแกรมสืบค้นจะทําการตรวจสอบกับฐานข้อมูลที่มีอยู่และรายงานผลเป็น URL ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งตัวอย่างข้อความของเอกสาร
เว็บที่อยู่ใกล้กับคําสําคัญนั้น

ไม่รับผิดชอบ

สรุปองค์ความรู้สัปดาห์ที่ 3

สรุปองค์ความรู้ สัปดาห์ที่ 3
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2552

การจัดการความรู้
เป็นเครื่องมือในการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
- ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
- ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่างๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

ข้อมูล DATA
- ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประเมินผล
- กลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
สารสนเทศ (Information )
- ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว
- ผลรวมของข้อมูลที่มีความหมาย
ความรู้ (Knowledge)
ผลการขัดเกลาและเลือกใช้สารสนเทศโดยมีการจัดระบบ สร้างเป็นองค์ความรู้ความเฉลียวฉลาด (Wisdom)
การนำเอาความรู้ต่างๆมาบูรณาการเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานในสาขาวิชาต่างๆเชาว์ปัญญา (Intilligent)
ผลการปรับแต่งและความจดจำความเฉลียวฉลาดต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความคิดที่ฉับไว

วิถีการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
KM ไม่ทำไม่รู้
เรียนลัดและต่อยอด

โมเดลปลาทู
“ โมเดลปลาทู” เป็นโมเดลอย่างง่าย ของ สคส. ที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี ๓ ส่วน คือ
๑ . ส่วน “ หัวปลา” (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “ เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย “ หัวปลา” นี้จะต้องเป็นของ “ คุณกิจ” หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี “ คุณเอื้อ” และ “ คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ
๒ . ส่วน “ ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “ คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “ คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว “ คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม
๓ . ส่วน “ หางปลา” (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “ คลังความรู้” หรือ “ ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “ เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “ หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป
KnowledgeVision KnowledgeAssetsKnowledgeSharing KVKSKA ส่วนหัว ส่วนตามองว่ากำลังจะไปทางไหนต้องตอบได้ว่า “ ทำ KM ไปเพื่ออะไร”

อุปสรรคของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- ไม่พูด ไม่คุย
- ไม่เปิด ไม่รับ
- ไม่ปรับ ไม่เรียน
- ไม่เพียร ไม่ทำ
คลังความรู้ (Knowledge Assets) ประกอบด้วย 3 ส่วน
1.เรื่องเล่าหรือคำพูดที่เร้าใจ + 2. การถอดบทเรียนที่ได้ + 3. แหล่งข้อมูลบุคคลอ้างอิง(Tacit Knowledge) (Explicit Knowledge) (References)
ข้อควรระวังในการทำ KS
- ให้ share "เรื่องเล่า" ไม่ใช่ share "ความคิด"
- เป็น Storytelling ไม่ใช่ Problem-solving ไม่ใช่ Planning
- share แล้วต้อง Learn Learn แล้วต้อง Lead (นำ)
...นำสู่การกระทำ
...นำสู่ภาพที่ต้องการ
"ทุกความสำเร็จในองค์กร ย่อมมาจากกลยุทธ์การวางแผน การปฏิบัติ และการจัดการอย่างมืออาชีพ"

งานชิ้นที่ 1
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนวัดท่ายาง
สถานที่ตั้ง หมู่ 2 ตำบลท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษาเป็นการนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้ 4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
การนำนวัตกรรมไปใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ตัวอย่าง นวัตกรรมที่ใช้ในการสอน ได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์ และยังเป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์ ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับสารสนเทศภายนอกหน่วยงาน เช่น ระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการอบรม เก็บรักษาและออกแบบระบบการสืบค้นที่ดีพอซึ่งผู้บริหารสามารถสืบค้นข้อมูลมาใช้งานได้ทันทีตลอดเวลา การใช้ออกแบบระบบการสืบค้นที่ดีพอซึ่งผู้บริหารสามารถสืบค้นข้อมูลมาใช้งานได้ทันทีตลอดเวลา การใช้นวัตกรรมแต่ละด้านอาจมีการผสมผสานที่ซ้อนทับกันในบางเรื่อง ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กันหลายด้าน การพัฒนาฐานข้อมูลอาจต้องทำเป็นกลุ่มเพื่อให้สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้อย่างประสิทธิภาพคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นเครื่องมือช่วยครูในการเรียนการสอน โดยบรรจุเนื้อหาที่จะสอนไว้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง และมีเทคนิคการสอนที่อยู่บนพื้นฐานของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเครื่องคอมพิวเตอร์


แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการระบบสารสนเทศของสถานศึกษา

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานที่กำหนด มีความจำเป็นต้องใช้สารสนเทศที่ครบถ้วนสมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน เพื่อใช้ในการวางแผนยุทธศาสตร์และการบริหาร เพื่อการวางแผนปฏิบัติการ เพื่อการดำเนินงาน เพื่อการตรวจสอบติดตามระหว่างดำเนินการ และเพื่อการประเมินผล หลังการดำเนินงาน ระบบสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับสถานศึกษามี 4 ระบบ ดังนี้
(1) ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา ประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับศักยภาพของสถานศึกษา สภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ความต้องการของชุมชน สภาพการบริหารและแนวทางการจัดการศึกษาตามโครงสร้างและภารกิจ เช่น ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา ศักยภาพของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน แนวโน้มการพัฒนาท้องถิ่น แนวทางการจัดการศึกษา การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา
(2) ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน ประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียนทั้งหมด เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ผลงานและการแสดงออกของผู้เรียน รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน
(3) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอน การวัดผลและการประเมินผลการเรียน การพัฒนากิจกรรมแนะแนว การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การวิจัยในชั้นเรียน
(4) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับสภาพการบริหารและการจัดการ สภาพและบรรยากาศการเรียนรู้ ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก การพัฒนาวิชาชีพ สุขภาพอนามัย การจัดการแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาวิชาชีพ ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชน

การนำระบบสารสนเทศไปใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า สารสนเทศได้กลายเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนา ประเทศสำหรับในระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกัน โดยหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและ แลกเปลี่ยนข้อมูล และสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และ การจัดการศึกษาให้เป็นระบบที่มีรูปแบบและมีมาตรฐานเดียวกันรวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา
การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาส่วนใหญ่เป็นไปอย่างอิสระ ทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งทางด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ ต่อเชื่อมระบบซอฟต์แวร์ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลปฐมภูมิ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงาน เครือข่าย ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษา ดังนั้น โรงเรียนหรือหน่วยงานทางการศึกษา จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาและนำข้อมูลสารสนเทศเหล่านนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์


วิสัยทัศน์
ประยุกต์ใช้นวัตกรรมอย่างฉลาด เปรื่องปราดเทคโนโลยี มีสารสนเทศเชิงระบบอย่างครบวงจร


ยุทธศาสตร์
ประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ การบริหารจัดการและพัฒนาระบบสารสนเทศของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ


บริบทของสถานศึกษา
1. ข้อมูลทั่วไป
1.1 ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนวัดท่ายาง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่
จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ 80240 โทรศัพท์ 075 489217 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
1.2 เปิดสอนตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

2. ประวัติโดยย่อ
โรงเรียนวัดท่ายาง เดิมมีชื่อว่า “ โรงเรียนประชาบาลตำบลท่ายาง ” เป็นโรงเรียนประชาบาลแห่งแรกของตำบลท่ายาง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลท่ายาง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2453 เดิมอาศัยโรงธรรมศาลาวัดท่ายางเป็นสถานที่เรียน เป็นระยะเวลานานถึง 45 ปี
จนถึงปี พ.ศ. 2499 ทางราชการได้อนุมัติเงิน ก.ส.ช. จำนวน 15,000 บาท ให้จัดสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ก จำนวน 3 ห้องเรียนในที่ดินโรงเรียนปัจจุบัน ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลท่ายาง สังกัดเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดการศึกษา 3 ระดับ ตามนโยบายการจัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปีของรัฐบาล คือระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ปัจจุบันโรงเรียนวัดท่ายางมีบุคลากรที่ปฏิบัติงานจริงในโรงเรียน จำนวน 50 คน เป็นผู้บริหาร 3 คน ครูประจำการ 38 คน พนักงานราชการ 5 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน ลูกจ้างชั่วคราว (เจ้าหน้าที่บรรณารักษ์และครูผู้สอนคอมพิวเตอร์ ) 2 คน ครู/พี่เลี้ยง 1 คน และครูไปช่วยราชการ 1 คน
นอกจากนี้โรงเรียนวัดท่ายางเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ปี พ.ศ. 2544 เป็นโรงเรียนแกนนำการทำวิจัยในชั้นเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 เป็นที่ตั้งของศูนย์เครือข่ายการศึกษา 10 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 เป็นโรงเรียนพัฒนาศูนย์เด็กเล็กปฐมวัยต้นแบบประจำอำเภอ ปี พ.ศ. 2548 ในปี พ.ศ. 2550 เป็นโรงเรียนโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ ในปี พ.ศ. 2551 ได้รับการรับรองให้เป็นต้นแบบโรงเรียนดีใกล้บ้าน (1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน รุ่นที่ 2) และได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป

คำขวัญ
“จริยธรรมเบ่งบาน วิชาการก้าวหน้า บุคลากรพัฒนา ปวงประชาร่วมใจ”

นโยบายของโรงเรียนวัดท่ายาง

1. จัดการศึกษาให้เด็กก่อนวัยเรียนทุกคนในเขตบริการของโรงเรียน ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีพัฒนาการด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมเหมาะสมกับวัย มีความพร้อมในการเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาต่อไป
2. จัดการศึกษาแก่เด็กที่มีอายุในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ ได้เข้าเรียนจนจบตามหลักสูตรทุกคน พร้อมทั้งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่งและสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
3. จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรม มีทักษะวิชาสามัญ วิชาชีพ มีความสามารถในการจัดการและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ตลอดจนส่งเสริมให้นักเรียนที่จบระดับมัธยมศึกษาตอนต้นทุกคนได้เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น
4. พัฒนาระบบการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนตามหลักสูตร โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข นำภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา รวมทั้งจัดการศึกษาให้สนองและสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
5. นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษาอย่างกว้างขวาง
6. บริหารจัดการเชิงระบบและมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามแนวทางการกระจายอำนาจทางการศึกษา เพื่อนำโรงเรียนสู่มาตรฐานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา


สภาพปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา
สภาพปัญหาและสิ่งที่ต้องการพัฒนาด้านนวัตกรรมทางการศึกษา
สภาพปัญหา
1. ปัญหาด้านบุคลากร คือบุคลากรบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจและความชำนาญในการผลิตและใช้สื่อนวัตกรรมทางการศึกษาประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
แนวทางแก้ไข คือ สร้างความตระหนักให้บุคลากรเห็นถึงความสำคัญของการผลิตและการใช้สื่อ นวัตกรรมประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญทั้งในฐานะที่เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย คือพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และในฐานะที่สื่อ นวัตกรรมเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืนและถาวร
2. ปัญหาด้านการขาดแคลนห้องเรียนและห้องพิเศษสำหรับการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เนื่องจากจำนวนนักเรียนมีมากและเพิ่มมากขึ้นทุกปี จึงส่งผลให้ขาดแคลนห้องเรียนและห้องพิเศษดังกล่าว แนวทางการแก้ไข คือ สถานศึกษาร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันวางแผนเพื่อจัดการบริหารด้านอาคารสถานที่ให้สามารถเอื้อและอำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ
สิ่งที่ต้องการพัฒนา
1. การเพิ่มศักยภาพในการผลิต การใช้สื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาที่ทันสมัยและมีคุณภาพให้แก่บุคลากรในโรงเรียน
2. การจัดหา สร้างห้องปฏิบัติการทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีคุณภาพและเพียงพอ

สภาพปัญหาและสิ่งที่ต้องการพัฒนาด้านสารสนเทศทางการศึกษา
สภาพปัญหา
1. ขาดแคลนสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่ทันสมัยในการรวบรวม ประมวลผลและจัดเก็บสารเทศของโรงเรียนอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ
2. บุคลากรขาดความชำนาญในการรวบรวม ประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ
สิ่งที่ต้องการพัฒนา
1. การสรรหาสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่ทันสมัยในการรวบรวม ประมวลผลและจัดเก็บสารเทศของโรงเรียนอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ ที่เพียงพอ
2. สร้างความตระหนัก พัฒนาบุคลากรอย่างหลากหลายแนวทางเพื่อให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถ มีความชำนาญในการรวบรวม ประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ

ผู้ให้ข้อมูล นางสาวจุติมา นาควรรณ
หน่วยงาน โรงเรียนวัดท่ายาง สพท.นศ.2
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2552

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
เหนื่อยนักหยุดพัก...คงหาย...

clip ดาวรุ่งดวงใหม่

slide

About this blog

นาฬิกา

ปฏิทิน

สถิติเข้าชม

ผู้ติดตาม